ความหมาย ความเป็นมาและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
1.1 นิยามความหมาย
วิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics)
คือ วิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด
โดยมุ่งหมายให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด
คำว่า “เศรษฐศาสตร์” (Economics) เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า
“Oikonomikos” (Oikos = บ้าน
+ nomos = การดูแลจัดการ) ซึ่งแปลว่าการบริหารจัดการของครัวเรือน อย่างไรก็ตามคำว่า
“เศรษฐศาสตร์” นั้น
มีความหมายที่ลึกซึ้งและมีขอบเขตกว้างกว่ารากศัพท์เดิมมาก
ถ้าพิจารณาคำว่าเศรษฐศาสตร์จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ.2525 หมายถึง วิชาว่าด้วยการผลิต จำหน่ายจ่ายแจกและการบริโภคใช้สอยสิ่งต่างๆของชุมชน
1.2 ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว นักปราชญ์สมัยโบราณพยายามสอดแทรกแนวความคิดและกฎเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์ปะปนอยู่ในหลักปรัชญา
ศาสนา ศีลธรรมและหลักปกครอง
แต่ความคิดเหล่านี้ยังไม่ถือเป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เช่น แนวคิดเรื่องการแบ่งงานกันทำของเพลโต (Plato)
แนวคิดเรื่องความมั่งคั่ง ของอริสโตเติล
(Aristotle) เป็นต้น
ในคริสต์ศตวรรษที่
18
ได้มีนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษบุคคลแรกที่วางรากฐานวิชาเศรษฐศาสตร์
คือ อาดัม สมิธ
(Adam Smith) ได้เขียนตำราทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลก
ซึ่งมีชื่อค่อนข้างยาวว่า “An Inquiry
into the Nature and Causes of the
Wealth of Nations” หรือเรียกสั้นๆว่า “The
Wealth Nations” (ความมั่งคั่งแห่งชาติ)
ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1776 โดยเสนอความคิดว่า
รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศควรเข้าแทรกแซงการผลิตและการค้าให้น้อยที่สุด
โดยยินยอมให้เป็นภาระหน้าที่ของเอกชน ทั้งนี้เป็นการสะท้อนถึงแนวความคิดแบบเสรีนิยมหรือส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบเสรี
จากหนังสือของอาดัม สมิธ ดังกล่าวถือเป็นตำราทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญเล่มแรกของโลก
และตัวเขาได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์”
ในสมัยต่อมา
อดัม สมิธ บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์
ทัศนะและข้อเขียนของอาดัม
สมิธ ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากต่อวิชาเศรษฐศาสตร์
แต่ภายหลังแนวคิดเรื่องนโยบายเสรีนิยมได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก
โดยเฉพาะเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำขนานใหญ่ในช่วงปี
1930 ได้ส่งผลให้ความถือที่มีต่อความสามารถของกลไกตลาดลดลงมาก
ทั้งนี้เพราะเกิดการว่างงานอย่างมากและติดต่อกันเป็นเวลานาน
โดยที่นโยบายเสรีนิยมไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
กลางคริสต์ศตวรรษที่
19
เกิดลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยคาร์ล มาร์กซ์
(Carl Marx) เป็นผู้ประกาศลัทธินี้
Das Kapital เป็นหนังสือสำคัญของคาร์ล มาร์กซ์ กล่าวถึงวิธีการขูดรีดของนายทุนจากกรรมกร
และแนวคิดเรื่องการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันและแบ่งผลประโยชน์อย่างเสมอภาค
คาร์ล มาร์กซ์ บิดาแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์
ปลายคริสต์ศตวรรษที่
19
อัลเฟรด มาร์แชล (Alfred
Marshall) ได้เสนอทฤษฎีว่าด้วยการผลิต
(Theory of the Firm) ซึ่งต่อมากลายเป็นที่มาของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค
ในปี 1954 จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์
(John Maynard Keynes) ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีบทบาทอย่างมากทั้งในวงการวิชาการและกระบวนการกำหนดนโยบายของอังกฤษ
ได้เขียนหนังสือชื่อ “The General
Theory of Employment, Interest and Money”
หรือเรียกสั้นๆว่า “The General
Theory” เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้ขัดแย้งกับเศรษฐศาสตร์รุ่นก่อนๆ
ในเรื่องกลไกตลาด ที่ไม่สามารถทำงานได้ดีพอสำหรับการแก้ไขปัญหาการว่างงานและปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดขึ้น
ดังนั้น รัฐจึงควรถือเป็นหน้าที่ที่ต้องแทรกแซง
เพื่อการกระตุ้นให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นและลดการว่างงานลง
โดยรัฐอาจสร้างงานให้ประชาชน เช่น
การสร้างถนน สร้างเขื่อน หรือสร้างสถานที่ทำงานของรัฐ เป็นต้น
จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค
การเรียกร้องให้รัฐเข้ามาแทรกแซง เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานและเศรษฐกิจตกต่ำนั้นได้รับการยอมรับมาก
และเคนส์จึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์มหภาค ในเวลาต่อมากลุ่มนักธุรกิจเริ่มวิตกกังวลว่า
ถ้าบทบาทของรัฐในระบบเศรษฐกิจขยายกว้างมากขึ้นจะทำให้ภาคธุรกิจไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
จะเห็นได้ว่าแนวคิดของอาดัม สมิธ
ที่ว่ารัฐควรลดบทบาทหรือลดการแทรกแซงทางเศรษฐกิจลง แต่ความคิดของเคนส์กลับเห็นว่า
รัฐควรมีบทบาททางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งปรัชญาทางความคิดของทั้งสองต่างกันแต่ก็มีเหตุผลและมีความสำคัญอย่างทัดเทียมกัน
1.3 ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย
คนไทยรุ่นบุกเบิกที่เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์จากต่างประเทศเท่าที่มีการกล่าวถึงในเอกสารมีเพียงไม่กี่ท่าน
ท่านหนึ่งคือ กรมหมื่นสรรค์วิไสยนรบดีฯ
(พระนามเดิมพระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์) พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงศึกษาสำเร็จปริญญาเอกจากประเทศเยอรมนี ในปี พ.ศ.2450 ทรงเขียนวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจการเกษตรของไทย
ท่านทรงรับราชการเพียง 5 ปี
ก็สิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุเพียง 28 พรรษา [2]
บุคคลสำคัญในกลุ่มบุกเบิกการเผยแพร่วิชาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทยคือ พระยาสุริยานุวัตร
ซึ่งเคยดำรงดำแหน่งที่สำคัญคือ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ท่านเป็นผู้เรียบเรียงและพิมพ์ตำราทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของไทย
พระยาสุริยานุวัตร(เกิด บุนนาค)
ชื่อ “ทรัพย์ศาสตร์” ในปี
พ.ศ.2454 ต่อมาดร.ทองเปลว ชลภูมิ
ผู้สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ขออนุญาตจากท่านนำหนังสือดังกล่าวมาจัดพิมพ์ใหม่และให้ชื่อว่า
“เศรษฐศาสตร์ภาคต้น” เล่ม
1 และเล่ม 2 เพื่อใช้เป็นตำราเรียน
ใน พ.ศ.2459 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเขียนและจัดพิมพ์หนังสือชื่อ
“ตลาดเงินตรา” (Money Market) ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าตลาดเงิน ส่วนคำว่า
“เงินตรา” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า
Currency
จนกระทั่ง พ.ศ.2473 โรงเรียนกฎหมายซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ.2440 โดยกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
ได้ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาและต่อมาในปี พ.ศ.2477 โรงเรียนกฎหมายได้รับการสถาปนาเป็น
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
ระยะแรกเปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์เพียงสาขาเดียว ได้รับปริญญาธรรมศาสตรบัณฑิต ใช้อักษรย่อ
ธ.บ. หลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิตมีเศรษฐศาสตร์อยู่
2 วิชา คือ “เศรษฐศาสตร์” และ “ลัทธิเศรษฐกิจ”
ต่อมาสอนสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
ในการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระยะแรกยังไม่มีผู้สอนที่จบเศรษฐศาสตร์โดยตรงอาศัยผู้สอนที่จบการศึกษาด้านกฎหมายจากฝรั่งเศส เวลานั้นอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ทำงานเป็นล่ามภาษาฝรั่งเศสอยู่ในหมาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้สอบชิงทุนรัฐบาลไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2481 มหาวิทยาลัยจึงขอให้ท่านศึกษาด้านวิชาเศรษฐศาสตร์
ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในปี
พ.ศ.2484 ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้วยคะแนนสูงสุดของรุ่น
และได้รับทุนเพื่อศึกษาต่อถึงระดับปริญญาเอก
ต่อมาใน พ.ศ.2492 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ยกเลิกระบบการสอนแบบธรรมศาสตรบัณฑิต
เปลี่ยนโครงสร้างโดยแยกเป็นคณะต่างๆ ได้ประกาศจัดตั้ง
4 คณะ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถือเป็นคณะเศรษฐศาสตร์คณะแรกของไทย
โดยมี ดร.เดือน บุนนาค เป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์คนแรก
ใน พ.ศ. 2507 ดร.ป๋วย อึ๊งภากร ได้มาดำรงตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปัจจุบันการศึกษาวิเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทยได้ขยายกว้างอย่างมากมีการจัดตั้งคณะเศรษฐศาสตร์หรือภาควิชาเศรษฐศาสตร์ในสถาบันระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนมากกว่า
15 แห่ง และผลิตบัณฑิตสาขาเศรษฐศาสตร์กว่า
3,000 คน ต่อปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น