บล็อกของเพื่อนเอกสังคม

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ราชวงศ์จักรี

 
ram1
พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(ประสูติ พ.ศ. 2279 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352)
มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง  
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
ทรงพระนามเต็มว่า
พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์
 ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตน
 ชาติอาชาวศรัย สมุทัยวโรมนต์สกลจักรฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทรธาดาธิ
 บดี ศรีสุวิบุลยคุณธขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพา
 ดิเทพนฤดินทร์ภูมินทรปรามาธิเบศร โลกเชฎฐวิสุทธิ์รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร
 บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว "

               ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทร
 ศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด คน คือ
               คนที่ เป็นหญิงชื่อ "สา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี )

               คนที่ เป็นชายชื่อ "ขุนรามนรงค์" ( ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 )

               คนที่ เป็นหญิงชื่อ "แก้ว" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ )

               คนที่ เป็นชายชื่อ "ด้วง" (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )

               คนที่ เป็นชายชื่อ "บุญมา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช )
               เมื่อเจริญวัยได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพร
               พระชนมายุ 21 พรรษา ออกบวชที่วัดมหาทลาย แล้วกลับมาเป็นมหาดเล็กหลวงในแผ่นดินพระเจ้าอุทุมพร
               พระชนมายุ 25 พรรษา ได้รับตัวแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร ประจําเมืองราชบุรีในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระองค์ได้วิวาห์กับธิดานาค ธิดาของท่านเศรษฐี
ทองกับส้ม
              พระชนมายุ 32 พรรษา ในระหว่างที่รับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เลื่อน
ตําแหน่งดังนี้
              พระชนมายุ 33 พรรษา พ.ศ. 2312 ได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ เมื่อพระเจ้า
กรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
              พระชนมายุ 34 พรรษา พ.ศ. 2313 ได้เลื่อนเป็นพระยายมราชที่สมุหนายก
เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
              พระชนมายุ 35 พรรษา พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรี เมื่อคราวเป็น
แม่ทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2
              พระชนมายุ 41 พรรษา พ.ศ. 2321 ได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
เมื่อคราวเป็นแม่ทัพใหญ่ไปตีเมืองลาวตะวันออก
              พ.ศ. 2323 เป็นครั้งสุดท้ายที่ไปปราบเขมร ขณะเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดจลาจล
จึงเสด็จยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงปราบปราม
เสี้ยนหนามแผ่นดินเสร็จแล้วจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติปราบดาภิเษก แล้วได้มี
พระราชดํารัสให้ขุดเอาหีบพระบรมศพของพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นตั้ง ณ เมรุวัดบาง
ยี่เรือพระราชทานพระสงฆ์บังสุกุลแล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพ เสร็จแล้วให้มี
การมหรสพ
รัชกาลที่ ๒
พระราชประวัติรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(ประสูติ พ.ศ. 2310 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2367)
มีพระนามเดิมว่า ฉิม

              พระราชประวัติ
              พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น คํ่า เดือน ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฎ 
1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี
2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา 
             พระราชกรณียกิจที่สําคัญ 
พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน ขึ้น คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ.2346
รัชกาลที่ ๓

พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2330 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2394)
มีพระนามเดิมว่า พระองค์ชายทับ 
             พระราชประวัติ
             พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุราลัย ( เจ้าจอมมารดาเรียม ) ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน แรม 10 คํ่า ปีมะแม ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 มีพระนามเดิมว่า "พระองค์ชายทับ"
             พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตํารวจว่าการฎีกา นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวงออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน พระองค์ทรงได้รับพระสามัญญานามว่า "เจ้าสัว"
             ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชการที่ ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาเสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อันที่จริงแล้วราชสมบัติควรตกแก่ เจ้าฟ้ามงกุฎ ( พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ โดยตรง ส่วนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านั้น โดยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระอนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรมราชินี คงมีแต่เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม 
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น คํ่า เดือน ปีวอกฉศก มี
พระชนมายุได้ 37 พรรษา 
รัชกาลที่ ๔
พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2347 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2393 - พ.ศ. 2411)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา 
             พระราชประวัติ
             พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับปีชวด มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา ขณะนั้นพระราชบิดายังดัารงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาอักขะสมัยกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อพระชนมายุได้ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ มีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าจุธามณี ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
             เมื่อพระชนมายุได้ พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถก็โปรดให้มีการพระราชพิธีลงสรง ( พ.ศ. 2355 ) เป็นครั้งแรกที่กระทําขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับพระราชทานนามจารึกในพระสุพรรณปัฎว่า " สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทววงศ์พงศ์อิสรค์กษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร " สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ เมษายน พุทธศักราช 2394 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เรียกขานในหมู่ชาวต่างชาติว่า "คิงส์มงกุฎ" ขณะที่พระองค์ขึ้นเสวย สิริราชย์สมบัตินั้น พระชนมายุ 37 พรรษา
             เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ( พระนามเดิมเจ้าฟ้าจุธามณีโอรสองค์ที่ 50 ของรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ) ขึ้นเป็นสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีฐานะเสมือนพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง
รัชกาลที่ ๕
พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2396 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2453)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ 
             พระราชประวัติ
             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ กับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ( สมเด็จพระนางรําเพยภมรภิรมย์ ) พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร แรม คํ่า เดือน 10 ได้ทรงรับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ และกรมขุนพอนิจประชานาถ
             ด้านการศึกษา พระองค์ทรงได้รับการศึกษาเป็นมาอย่างดี คือ ทรงศึกษาอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยรัฐประศาสนศาสตร์ วิชากระบี่ กระบอง วิชาอัศวกรรม วิชามวยปลํ้า การยิงปืนไฟ เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติโดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สําเร็จราชการ พ.ศ. 2410 พระเจ้านโปเลียนที่ แห่งฝรั่งเศส ได้ส่งพระแสงกระบี่มาถวาย ครั้นพระชนมายุครบที่จะว่าราชการได้ พระองค์จึงได้ทรงทําพิธีราชาภิเษกใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2416 ทําให้เกิดผลใหญ่ ข้อ 
1. ทําให้พวกพ่อค้าชาวต่างประเทศหันมาทําการติดต่อกับพระองค์โดยตรง เป็นการปลูกความนิยมนับถือกับชาวต่างประเทศได้เป็นอย่างดีเยี่ยม
2. ทําให้พระองค์ มีพระราชอํานาจที่จะควบคุมกําลังทหารการเงินได้โดยตรงเป็นได้ทรงอํานาจในบ้านเมืองโดยสมบูรณ์
รัชกาลที่ ๖
พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2423 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2468)
มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ 
            พระราชประวัติ
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ที่ มกราคม พ.ศ. 2421 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ( สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี ) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ" ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี ในปี พ.ศ. 2431 และต่อมาในปี พ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารดํารงตําแหน่งรัชทายาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ดํารงตําแหน่งรัชทายาทแทน
รัชกาลที่ ๗
พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2436 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2477)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดช กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา 
              พระราชประวัติ
              พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นโอรสองค์ที่ 76 ทรงเป็นพระโอรสองค์เล็กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงประสูติแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ นับว่าเป็นพระราชโอรสองค์เล็กสุด ประสูติ เมื่อวันที่ พฤศจิการยน พ.ศ. 2436 ตรงกับวันพุธ แรม 14 คํ่า เดือน 11 ปีมะเส็ง ทรงพระนามเดิมว่า " เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดช กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา 
              เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา พระองค์ได้เข้าศึกษา ในวิทยาลัยทหารบก ณ ประเทศอังกฤษจนจบและได้เสด็จกลับมารับราชการในรัชกาลที่ ซึ่งเป็นพระเชษฐาธิราชของพระองค์ โดยได้รับยศเป็นนายพันโททหารบกมีตําแหน่งเป็นราชองครักษ์ และผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม ต่อมาภายหลังได้เลื่อนตําแหน่งเป็นลําดับจนเป็นนายพันเอก มีตําแหน่งเป็นปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ก่อนขึ้นครองราชสมบัติมีตําแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2
รัชกาลที่ ๘
พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
(ประสูติ พ.ศ. 2468 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2489)
มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล 
             พระราชประวัติ
             พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ตรงกับวันขึ้น คํ่า เดือน 11 ปีฉลู ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมันนี ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทรงมีพระพี่นางและพระอนุชาร่วมสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนีเดียวกันคือ 
1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
2. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช 
พ.ศ. 2472 สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์เสด็จทิวงคต
พ.ศ. 2474 พระองค์ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต
พ.ศ. 2476 เสด็จพระราชดําเนินไปทวีปยุโรป ประทับ ณ เมืองโลซานน์ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
พ.ศ. 2477 ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ มีนาคม พ.ศ. 2477 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดาที่จะสืบราชสันตติวงศ์ และด้วยความเห็นชอบของผู้สําเร็จราชการแผ่นดินที่ได้ดําเนินการไปตามกฎมณเฑียรบาล
พ.ศ. 2481 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จพระราชดําเนินกลับเยี่ยมประเทศไทยพร้อมด้วยสมเด็จพระชนนี สมเด็จพระพี่นางเธอและสมเด็จพระเจ้าน้องเธอ ได้ทรงประประทับอยู่ที่พระตําหนักจิตรลดารโหฐานประมาณ เดือน จึงเสด็จไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อเข้าศึกษาวิชานิติศาสตร์ และการปกครองในมหาวิทยาลัยประเทศนั้น
 พ.ศ. 2488 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ จึงเสด็จกลับมาถึงประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง และในวันที่ ธันวาคม พ.ศ. 2488 ได้ทรงประทับอยู่ ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวังผู้สําเร็จราชการแทนคนล่าสุดคือ นายปรีดี พนมยงค์ ได้ถวายพระราชภารกิจแด่พระองค์เพื่อได้ทรงบริหารเต็มที่ตามพระราชอํานาจ
รัชกาลที่ ๙
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
(ประสูติ พ.ศ. 2470 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน) 
             พระราชประวัติ
             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงสมภพเมื่อวันที่ ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ เมืองเคมบริจดจ์มลรัฐเมสสาชูเสท ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเป็นพระราชโอรสาธิราช องค์ที่ ในสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ( สมเด็จพระศรีนครินทรทรา บรมราชชนนี ) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระเชษฐาธิราชว่า " พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล " พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รัชกาลที่ และมีพระพี่นาง พระนามว่า " สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา "
             พระองค์ได้เสด็จกลับเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากพระบรมเชษฐาเมื่อวันที่ มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะมีพระชันษา 19 ปี ก่อนครองราชย์ได้ทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และได้เสด็จกลับไปศึกษาวิชานิติศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ต่ออีกภายหลังที่ได้ครองราชย์แล้ว
             ทรงสนพระทัยในอักษรศาสตร์ และการดนตรีทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศหลายภาษาและตรัสได้อย่างคล่องแคล่ว จนเป็นที่ประจักษ์แก่คณะทูตานุทูตและประชาชนชาวเมืองนั้นๆ เป็นอย่างดี ต่างพากันชมว่า พระองค์ทรงมีความรู้ทันสมัยที่สุดพระองค์หนึ่ง สําหรับดนตรีนั้นทรงประพันธ์เนื้อร้องและทํานองเพลงแด่คณะวงดนตรีต่างๆ มีเพลงพระราชนิพนธ์ที่คนไทยรู้จักเช่น เพลงสายฝน เพลงประจํามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เพลงประจํามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระองค์เคยเข้าร่วมวงดนตรีกับชาวต่างประเทศมาแล้ว โดยไม่ถือพระองค์

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

ความหมาย  ความเป็นมาและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
1.1 นิยามความหมาย
วิชาเศรษฐศาสตร์  (Economics)  คือ  วิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด  โดยมุ่งหมายให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด
คำว่า  เศรษฐศาสตร์” (Economics)  เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า  “Oikonomikos”    (Oikos  =  บ้าน  +  nomos  =  การดูแลจัดการ)  ซึ่งแปลว่าการบริหารจัดการของครัวเรือน  อย่างไรก็ตามคำว่า  “เศรษฐศาสตร์”  นั้น มีความหมายที่ลึกซึ้งและมีขอบเขตกว้างกว่ารากศัพท์เดิมมาก 
          ถ้าพิจารณาคำว่าเศรษฐศาสตร์จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2525  หมายถึง  วิชาว่าด้วยการผลิต  จำหน่ายจ่ายแจกและการบริโภคใช้สอยสิ่งต่างๆของชุมชน
 1.2 ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์
            แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว  นักปราชญ์สมัยโบราณพยายามสอดแทรกแนวความคิดและกฎเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์ปะปนอยู่ในหลักปรัชญา  ศาสนา  ศีลธรรมและหลักปกครอง  แต่ความคิดเหล่านี้ยังไม่ถือเป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์  เช่น  แนวคิดเรื่องการแบ่งงานกันทำของเพลโต (Plato)  แนวคิดเรื่องความมั่งคั่ง  ของอริสโตเติล (Aristotle)  เป็นต้น 
            ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้มีนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษบุคคลแรกที่วางรากฐานวิชาเศรษฐศาสตร์  คือ อาดัม  สมิธ  (Adam  Smith)  ได้เขียนตำราทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลก  ซึ่งมีชื่อค่อนข้างยาวว่า  “An  Inquiry  into  the  Nature  and  Causes  of  the  Wealth  of  Nations”  หรือเรียกสั้นๆว่า   “The  Wealth  Nations”  (ความมั่งคั่งแห่งชาติ)  ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1776 โดยเสนอความคิดว่า  รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศควรเข้าแทรกแซงการผลิตและการค้าให้น้อยที่สุด  โดยยินยอมให้เป็นภาระหน้าที่ของเอกชน  ทั้งนี้เป็นการสะท้อนถึงแนวความคิดแบบเสรีนิยมหรือส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบเสรี

จากหนังสือของอาดัม  สมิธ  ดังกล่าวถือเป็นตำราทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญเล่มแรกของโลก  และตัวเขาได้รับการยกย่องให้เป็น  “บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์”  ในสมัยต่อมา
  อดัม สมิธ  บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์
            ทัศนะและข้อเขียนของอาดัม  สมิธ  ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากต่อวิชาเศรษฐศาสตร์  แต่ภายหลังแนวคิดเรื่องนโยบายเสรีนิยมได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก  โดยเฉพาะเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำขนานใหญ่ในช่วงปี  1930  ได้ส่งผลให้ความถือที่มีต่อความสามารถของกลไกตลาดลดลงมาก  ทั้งนี้เพราะเกิดการว่างงานอย่างมากและติดต่อกันเป็นเวลานาน  โดยที่นโยบายเสรีนิยมไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
            กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19  เกิดลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยคาร์ล  มาร์กซ์ (Carl  Marx)  เป็นผู้ประกาศลัทธินี้  Das Kapital  เป็นหนังสือสำคัญของคาร์ล  มาร์กซ์  กล่าวถึงวิธีการขูดรีดของนายทุนจากกรรมกร  และแนวคิดเรื่องการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันและแบ่งผลประโยชน์อย่างเสมอภาค
    คาร์ล มาร์กซ์  บิดาแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อัลเฟรด  มาร์แชล (Alfred  Marshall)  ได้เสนอทฤษฎีว่าด้วยการผลิต  (Theory  of  the  Firm)  ซึ่งต่อมากลายเป็นที่มาของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค 
         ในปี  1954  จอห์น  เมย์นาร์ด  เคนส์  (John  Maynard  Keynes)  ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีบทบาทอย่างมากทั้งในวงการวิชาการและกระบวนการกำหนดนโยบายของอังกฤษ  ได้เขียนหนังสือชื่อ  “The  General  Theory  of  Employment,  Interest  and  Money”  หรือเรียกสั้นๆว่า  “The  General  Theory”  เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้ขัดแย้งกับเศรษฐศาสตร์รุ่นก่อนๆ  ในเรื่องกลไกตลาด  ที่ไม่สามารถทำงานได้ดีพอสำหรับการแก้ไขปัญหาการว่างงานและปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดขึ้น  ดังนั้น  รัฐจึงควรถือเป็นหน้าที่ที่ต้องแทรกแซง  เพื่อการกระตุ้นให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นและลดการว่างงานลง  โดยรัฐอาจสร้างงานให้ประชาชน  เช่น  การสร้างถนน  สร้างเขื่อน  หรือสร้างสถานที่ทำงานของรัฐ  เป็นต้น 
  จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค
          การเรียกร้องให้รัฐเข้ามาแทรกแซง  เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานและเศรษฐกิจตกต่ำนั้นได้รับการยอมรับมาก  และเคนส์จึงได้รับการยกย่องให้เป็น  บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์มหภาค  ในเวลาต่อมากลุ่มนักธุรกิจเริ่มวิตกกังวลว่า  ถ้าบทบาทของรัฐในระบบเศรษฐกิจขยายกว้างมากขึ้นจะทำให้ภาคธุรกิจไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
          จะเห็นได้ว่าแนวคิดของอาดัม  สมิธ ที่ว่ารัฐควรลดบทบาทหรือลดการแทรกแซงทางเศรษฐกิจลง  แต่ความคิดของเคนส์กลับเห็นว่า  รัฐควรมีบทบาททางเศรษฐกิจมากขึ้น  ซึ่งปรัชญาทางความคิดของทั้งสองต่างกันแต่ก็มีเหตุผลและมีความสำคัญอย่างทัดเทียมกัน 
1.3 ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย
          คนไทยรุ่นบุกเบิกที่เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์จากต่างประเทศเท่าที่มีการกล่าวถึงในเอกสารมีเพียงไม่กี่ท่าน  ท่านหนึ่งคือ  กรมหมื่นสรรค์วิไสยนรบดีฯ  (พระนามเดิมพระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์)  พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงศึกษาสำเร็จปริญญาเอกจากประเทศเยอรมนี  ในปี  พ.ศ.2450  ทรงเขียนวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจการเกษตรของไทย  ท่านทรงรับราชการเพียง  5  ปี  ก็สิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุเพียง  28  พรรษา [2]
          บุคคลสำคัญในกลุ่มบุกเบิกการเผยแพร่วิชาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทยคือ พระยาสุริยานุวัตร ซึ่งเคยดำรงดำแหน่งที่สำคัญคือ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ   ท่านเป็นผู้เรียบเรียงและพิมพ์ตำราทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของไทย 
   พระยาสุริยานุวัตร(เกิด บุนนาค)

 ชื่อ  “ทรัพย์ศาสตร์ในปี พ.ศ.2454 ต่อมาดร.ทองเปลว  ชลภูมิ  ผู้สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ขออนุญาตจากท่านนำหนังสือดังกล่าวมาจัดพิมพ์ใหม่และให้ชื่อว่า  “เศรษฐศาสตร์ภาคต้น”  เล่ม  1  และเล่ม  2  เพื่อใช้เป็นตำราเรียน
     
          ใน  พ.ศ.2459  กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์  ทรงเขียนและจัดพิมพ์หนังสือชื่อ  “ตลาดเงินตรา”  (Money  Market)  ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าตลาดเงิน  ส่วนคำว่า  “เงินตรา”  ตรงกับภาษาอังกฤษว่า  Currency 
          จนกระทั่ง  พ.ศ.2473 โรงเรียนกฎหมายซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ.2440 โดยกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  ได้ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาและต่อมาในปี  พ.ศ.2477 โรงเรียนกฎหมายได้รับการสถาปนาเป็น  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ระยะแรกเปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์เพียงสาขาเดียว  ได้รับปริญญาธรรมศาสตรบัณฑิต  ใช้อักษรย่อ  ธ.บ.  หลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิตมีเศรษฐศาสตร์อยู่   2  วิชา  คือ  “เศรษฐศาสตร์”  และ ลัทธิเศรษฐกิจ”   ต่อมาสอนสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก 
ในการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระยะแรกยังไม่มีผู้สอนที่จบเศรษฐศาสตร์โดยตรงอาศัยผู้สอนที่จบการศึกษาด้านกฎหมายจากฝรั่งเศส  เวลานั้นอาจารย์ป๋วย       อึ๊งภากรณ์  ทำงานเป็นล่ามภาษาฝรั่งเศสอยู่ในหมาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้สอบชิงทุนรัฐบาลไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ  ในปี  พ.ศ.  2481  มหาวิทยาลัยจึงขอให้ท่านศึกษาด้านวิชาเศรษฐศาสตร์         ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี  ในปี  พ.ศ.2484  ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้วยคะแนนสูงสุดของรุ่น  และได้รับทุนเพื่อศึกษาต่อถึงระดับปริญญาเอก
       ต่อมาใน พ.ศ.2492  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ยกเลิกระบบการสอนแบบธรรมศาสตรบัณฑิต  เปลี่ยนโครงสร้างโดยแยกเป็นคณะต่างๆ  ได้ประกาศจัดตั้ง  4  คณะ  ได้แก่  คณะนิติศาสตร์  คณะรัฐศาสตร์  คณะเศรษฐศาสตร์  และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี    คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถือเป็นคณะเศรษฐศาสตร์คณะแรกของไทย  โดยมี  ดร.เดือน  บุนนาค  เป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์คนแรก  ใน  พ.ศ. 2507  ดร.ป๋วย  อึ๊งภากร  ได้มาดำรงตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   ปัจจุบันการศึกษาวิเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทยได้ขยายกว้างอย่างมากมีการจัดตั้งคณะเศรษฐศาสตร์หรือภาควิชาเศรษฐศาสตร์ในสถาบันระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนมากกว่า  15  แห่ง  และผลิตบัณฑิตสาขาเศรษฐศาสตร์กว่า  3,000  คน  ต่อปี

อุปสงค์ อุปทาน และดุลยภาพ

อุปสงค์ (Demand)
                 อุปสงค์ในวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Demand หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ ณ ระดับราคาต่าง ๆ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่
โดยอุปสงค์จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่
1. ความต้องการที่จะซื้อ หรือ Willing to buy
2. ความสามารถในการจ่ายเพื่อซื้อ หรือ ability to pay
                  กฎของอุปสงค์คือ หากกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ อุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าจะลดลง เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้นหรือสูงขึ้น และอุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าจะเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าถูกลง
                จากความสัมพันธ์ดังกล่าว   โดยปกติ   เส้นอุปสงค์ จึงมีลักษณะที่ลาดลงจากซ้ายไปขวา (Downward slope) และมีความชันของเส้นเป็นค่าลบ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการซื้อสินค้ากับราคาในทิศทางตรงกันข้าม แสดงเป็นตารางอุปสงค์ได้ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และราคาสินค้า
ราคา (บาท/หน่วย)
100
90
80
70
60 
50
40
อุปสงค์/ความต้องการ 
30
50
70 
98
115 
150 
180
            จะสังเกตเห็นว่า ความสัมพันธ์จะเป็นไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกัน คือ เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น ความต้องการหรืออุปสงค์ก็ลดน้อยลง ซึ่งเมื่อนำมาแสดงในรูปของกราฟ จะเป็นดังรูปที่ 1 และเมื่อนำอุปสงค์ของแต่ละคนมารวมกัน ก็จะเป็นอุปสงค์ของตลาด ณ ระดับราคาต่าง ๆ

รูปที่ 1 เส้นอุปสงค์

 
ปัจจัยที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงในอุปสงค์ได้แก่
1. ราคาของสินค้า เมื่อราคาแพงขึ้น ความต้องการจะลดลง
2. รายได้ของผู้บริโภค กล่าวคือ ในกรณีที่เป็นสินค้าปกติ (Normal goods) เมื่อผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะบริโภคเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม หากรายได้เพิ่มขึ้น แล้วผู้บริโภคซื้อสินค้านั้นลดลง แสดงว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior goods) เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งอันที่จริงอาจจะไม่ได้หมายถึง คุณภาพของสินค้าจริงๆ ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่ดี แต่เป็นเรื่องของการรับรู้ของผู้บริโภคแต่ละคนที่อาจมีมุมมองแตกต่างกันไป เช่น ถ้ารวยขึ้นก็ไม่อยากกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาจหันไปกินอย่างอื่น เช่น ไก่ทอด แทน เป็นต้น
3. ราคาสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
              • สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน    เช่น    กรณีเมื่อหมูราคาแพงขึ้น ผู้บริโภคจะบริโภคหมูลดลง ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็อาจจะหันไปบริโภคไก่ หรือ ปลา หรือสัตว์น้ำอื่น ๆ แทน
              • สินค้าที่ใช้ประกอบกัน    เช่น    กรณีที่ราคาน้ำมันแพงขึ้น ความต้องการซื้อรถยนต์ก็จะลดน้อยลงด้วย เป็นต้น
4. รสนิยมของผู้บริโภค เช่น หากรสนิยมในการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้ความต้องการสินค้าที่เคยใช้อยู่เปลี่ยนแปลงไป
5. การคาดการณ์รายได้ในอนาคต เช่น หากผู้บริโภครู้ว่าจะได้มีการปรับขึ้นเงินเดือน ก็อาจจะบริโภคล่วงหน้าไปก่อน ทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าสูงขึ้น
6. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ฤดูกาล จำนวนประชากร ฯลฯ
การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์
             หากเกิดจากราคาของสินค้านั้นๆ  เอง (ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ข้อ 1.) การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นบนเส้นอุปสงค์เส้นเดิม (Move along the demand curve) แต่หากเกิดปัจจัยอื่น โดยที่ราคาของสินค้านั้น ๆ คงที่ การเปลี่ยนแปลงจะเลื่อนเส้นอุปสงค์ไปทางซ้าย หรือทางขวาของเส้นเดิมทั้งเส้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เข้ามากระทบว่าจะส่งผลทางใด (Shift in demand curve) ดังแสดงในรูปที่ 2 เช่น หากรายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เพราะได้รับโบนัส แม้ราคาสินค้าจะไม่เปลี่ยนแปลงเช่นยัง 60 บาทเท่าเดิม แต่ผู้บริโภคก็สามารถซื้อได้เพิ่มขึ้นจาก 120 หน่วย เป็น 170 หน่วย (จากเส้น D1 เป็นเส้น D2 ในรูปที่ 2) เป็นต้น
รูปที่ 2 การเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์ แบบเลื่อนไปทั้งเส้น จากปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา

  อุปทาน (Supply)
                 อุปทานในวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Supply หมายถึง ความต้องการจะขายสินค้าหรือบริการของผู้ขาย ณ ระดับราคาต่าง ๆ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่  โดยอุปทานจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่
          1. ความต้องการที่จะขาย หรือ Willing to sell
          2. ความสามารถในการผลิต หรือ ability to produce
                  กฎของอุปทานคือ หากกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ อุปทานหรือความต้องการขายสินค้าจะลดลง เมื่อราคาสินค้าถูกลง และอุปทานหรือความต้องการขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น
          จากความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยปกติ เส้นอุปทาน จึงมีความชันของเส้นเป็นค่าบวก ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการขายสินค้ากับราคาที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แสดงเป็นตารางอุปทานได้ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุปทานและราคาสินค้า    
ราคา (บาท/หน่วย)
100
90
80
70
60 
50
40
อุปสงค์/ความต้องการ 
270
240
200
170 
 140
110
70

 จะสังเกตเห็นว่า ความสัมพันธ์จะเป็นไปในทิศทางที่เดียวกัน กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น ความต้องการจะขายหรืออุปทานก็มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเมื่อนำมาแสดงในรูปของกราฟ จะเป็นดังรูปที่ 3 โดยเมื่อนำ
อุปทานของผู้ขายแต่ละรายมารวมกัน ก็จะเป็นอุปทานของตลาด ณ ระดับราคาต่าง ๆ

รูปที่ 3 เส้นอุปทาน
 


ปัจจัยที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงในอุปทานได้แก่
1.    ราคาของสินค้า เมื่อราคาแพงขึ้น ความต้องการขายก็มากขึ้นด้วย
2.    ราคาของปัจจัยการผลิตหรือต้นทุนการผลิต เช่น หากต้นทุนค่าขนส่งแพงขึ้นเพราะราคาน้ำมันแพงขึ้น แต่ราคาสินค้าที่นำไปวางขายไม่เปลี่ยนแปลง จะทำให้ผู้ผลิตอยากขายสินค้าในปริมาณที่น้อยลง เพราะได้กำไรน้อยลง
3.    ราคาสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีที่ราคาสินค้าอื่นแพงขึ้น อาจมีผลทำให้อุปทานของสินค้าชนิดที่ผลิตอยู่ลดลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น เมื่อราคาข้าวโพดแพงขึ้น คนที่เคยปลูกมันสำปะหลังอยู่ อาจหันไปปลูกข้าวโพดแทน และลดการปลูกมันสำปะหลังลง ซึ่งผลทำให้อุปทานของมันสำปะหลังสูงขึ้น ขณะที่อุปทานของข้าวโพดลดลง เป็นต้น
4.    เทคโนโลยีในการผลิตสินค้า เช่น หากมีการคิดค้นเทคโนโลยีในการผลิตให้ดีขึ้น ทำให้ผลิตได้ปริมาณสินค้ามากขึ้นด้วยต้นทุนเท่าเดิม จะทำให้ปริมาณการเสนอขายสินค้าเพิ่มขึ้นได้
5.    การคาดการณ์ในอนาคต เช่น หากผู้ผลิตหรือผู้ขายคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว ก็เสนอขายสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
6.    ปัจจัยอื่น เช่น ฤดูกาล ภาษีและเงินอุดหนุน จำนวนผู้ขาย และโครงสร้างตลาดสินค้า ฯลฯ
การเปลี่ยนแปลงของอุปทาน
            จะเกิดขึ้นในลักษณะคล้ายกันกับการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ กล่าวคือ หากเกิดจากราคาของสินค้านั้นๆ  เอง (ปัจจัยกำหนดอุปทานข้อ 1.) การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นบนเส้นอุปทานเส้นเดิม (Move along the supply curve) แต่หากเกิดปัจจัยอื่น โดยที่ราคาของสินค้านั้น ๆ คงที่ การเปลี่ยนแปลงจะเลื่อนเส้นอุปทานไปทางซ้าย หรือทางขวาของเส้นเดิมทั้งเส้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เข้ามากระทบว่าจะส่งผลทางใด (Shift in supply curve) ดังแสดงในรูปที่ 4 เช่น หากต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตสูงขึ้น ณ ระดับราคาขายสินค้าที่เท่าเดิม ผู้ขายจะเสนอขายสินค้าในปริมาณที่ลดลง เช่น ณ ระดับราคาสินค้า 60 บาทเท่าเดิม แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้น จึงทำให้เส้นอุปทานเลื่อนไปทางซ้ายของเส้นเดิมทั้งเส้น จาก S1 ไปยัง S2 แสดงถึงผู้ขายต้องการขายสินค้าน้อยลงจาก 140 หน่วย เหลือ 80 หน่วย เป็นต้น

รูปที่ 4 การเปลี่ยนแปลงเส้นอุปทาน แบบเลื่อนไปทั้งเส้น จากปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา

    ดุลยภาพ (Equilibrium price and output)

               จากที่ได้กล่าวมาแล้วถึงความต้องการซื้อ และความต้องการขายสินค้า ณ ระดับราคาต่าง ๆ ของทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต ระดับดุลยภาพ ก็คือ ระดับราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายเห็นพ้องต้องกัน หรือระดับราคาที่อุปสงค์เท่ากับอุปทาน หรือเส้นอุปสงค์ตัดกับเส้นอุปทาน
รูปที่ แสดงเส้นอุปสงค์ อุปทาน และระดับดุลยภาพ

 
 จากรูปแสดงให้เห็นถึงระดับดุลยภาพที่ความต้องการซื้อและความต้องการขายเท่ากันพอดี (เส้น D ตัดกับเส้น S ณ จุด E) โดย ณ ราคาสินค้า 60 บาทต่อหน่วย ผู้ซื้อและผู้ขายมีความต้องการสินค้าที่ 120 หน่วย
                ทั้งนี้ จุดที่ราคาสูงกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess supply) และจะมีการปรับตัวเข้าสู่ราคาดุลยภาพ
                ส่วนจุดที่ราคาอยู่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess demand) และจะมีการปรับตัวสู่ราคาดุลยภาพ